เมนู

ที่ทำด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่เป็นอุคคหิตก์ไม่ควรกลืนกิน ควรแต่
ในการใช้สอยภายนอก. แม้เมื่อล่วง 7 วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ. น้ำมัน
ที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดพันธุ์ผักกาด มะซางและเมล็ดละหุ่ง เพื่อต้องการ
จะทำน้ำมัน แล้วทำในวันนั้นนั่นเอง เป็นสัตตาหกาลิก, ทำในวันรุ่งขึ้น
ควรบริโภคได้ 6 วัน. ทำในวันที่ 3 ควรบริโภคได้ 5 วัน. แต่ที่ทำ
ในวันที่ 4 ควร 3 วัน... ในวันที่ 5 ควร 2 วัน... ในวันที่ 6 ควร
1 วัน... ในวันที่ 7 ควรในวันนั้นเท่านั้น. ถ้ายังคงอยู่จนถึงอรุณขึ้น
เป็นนิสสัคคีย์. ที่ทำในวันที่ 8 ไม่ควรกลืนกินเลย, แต่ควรในการใช้
สอยภายนอก เพราะเป็นของยังไม่เสียสละ. แม้ถ้าว่าไม่ทำ, ในเมื่อเมล็ด
พันธุ์ผักกาดที่ตนรับไว้ เพื่อประโยชน์แก่น้ำมันเป็นต้น ล่วงกาล 7 วันไป
ก็เป็นทุกกฏอย่างเดียว.
อนึ่ง น้ำมันผลไม้มะพร้าวเมล็ดสะเดา สะคร้อ เล็บเหยี่ยว และ
สำโรง*เป็นต้น แม้เหล่าอื่นที่ไม่ได้มาในพระบาลี ก็ยังมี. เมื่อภิกษุรับ
ประเคนน้ำมันเหล่านั้นแล้วให้ล่วง 7 วันไปเป็นทุกกฏ. ในมะพร้าว
เป็นต้นเหล่านี้ มีความแปลกกันดังนี้:- พึงกำหนดวัตถุแห่งยาวกาลิก
ที่เหลือแล้ว ทราบวิธีการแห่งสามปักกะ (ให้สุกเอง) สวัตถุก (ของที่รับ
ทั้งวัตถุ) ของที่รับประเคนในปุเรภัตรับประเคนในปัจฉาภัต และอุคคหิต-
วัตถุ (ของที่ยังไม่ได้รับประเคนภิกษุจับต้อง) ทั้งหมด ตามนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.

[อธิบายน้ำมันทำจากเปลวสัตว์ต่าง ๆ]


บทว่า วสาเตลํ ได้แก่ น้ำมันแห่งเปลวสัตว์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตไว้อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต เปลวมัน 5 ชนิด
* บางแห่งว่า เมล็ดฝ้าย.